How toกรดไหลย้อย โรคที่มากับพฤติกรรมคนทำงาน พร้อมวิธีแก้ - Beauty See First

กรดไหลย้อย โรคที่มากับพฤติกรรมคนทำงาน พร้อมวิธีแก้ – Beauty See First

กรดไหลย้อย โรคที่มากับพฤติกรรมคนทำงาน พร้อมวิธีแก้

กรดไหลย้อน ดูอาการป่วยเริ่มต้นก่อนรุกรามรบกวนการใช้ชีวิต | กล่องพัสดุเฮงเฮง

“กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิตที่เกิดจากไลฟ์สไตล์ และการใช้ชีวิตเร่งรีบ รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาทิ กินข้าวไม่ตรงเวลา เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินแล้วนอนทันที กินของมัน ของทอด หรือแม้แต่เครียด กังวล พักผ่อนไม่พอ ตลอดจนใส่เสื้อผ้ารัดรูป ก็อาจทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนได้

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร เพราะหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ทำงานผิดปกติ คลายตัวมากเกินไป ทำให้กรดหรือของเหลวไหลจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารได้ โดยปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีทั้งอายุที่เพิ่มขึ้น และพฤติกรรม อาทิ การสูบบุหรี่ นอนราบภายหลังการรับประทานอาหารทันที ทานมากในมื้อเย็น ชอบทานอาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง การดื่มเครื่องดื่ม เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟ หรือน้ำอัดลม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน

รักษาโรคกรดไหลย้อนให้หายต้องปรับพฤติกรรม / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์  เถกิงเกียรติ

อาการของโรคกรดไหลย้อน

1.รู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอก เป็นมากหลังทานอาหารมื้อหนัก

2.อาการเรอและน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก

3.รู้สึกกลืนติดเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ

4.ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร

5.ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ

แค่ปรับพฤติกรรม ก็รักษากรดไหลย้อนได้

นิสัยส่วนตัว :

อย่าเครียด หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง ที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่ด้วย

นิสัยการทานอาหาร :
หลังทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายทันที การยกของหนัก เว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 ชม. ให้อาหารได้ย่อยก่อน และรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ลดของทอด, อาหารมัน, อาหารย่อยยาก หรืออาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด ส่วน ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ควรดื่มแต่พอดี

นิสัยการนอน : ไม่ควรนอนทันทีหลังการทานอาหาร ควรเว้นระยะห่าง 3 ชม. และควรนอนหนุนหมอนให้สูงประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้น

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลบางปะกอก 9

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article