Tips&How to
ทดสอบว่าสายตาสั้นรึเปล่า ด้วยภาพ Hybrid Image
ช่วงนี้เริ่มรู้สึกมองอะไรเบลอๆ รึเปล่าเอ่ย อาจจะไม่ได้เป็นเพราะนอนน้อย แต่เป็นเพราะสายตาสั้น! ทุกคนรู้กันใช่ไหมคะ การใช้สายตาอย่างไม่เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือหรือเล่นมือถือในที่แสงน้อย ใช้สายตามากโดยไม่พักผ่อน อาจทำให้สายตาของเราแย่ลงได้ ฉะนั้นถ้ารู้สึกว่าสายตาไม่ปกติ ควรควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ
ภาพการรวมร่างของ 2 คนนี้ มีต้นฉบับมาจาก คุณ Aude Oliva ที่ทำงานเกี่ยวกับ Computational Perception and Cognition จากสถาบัน MIT เป็นคนเริ่มนำมาใช้ โดยก่อนอื่น เราต้องขออธิบายก่อนว่าภาพลักษณะนี้ มีชื่อเรียกว่าภาพ “Hybrid Image” ซึ่งเป็นเทคนิคที่รวมเอาภาพ 2 ภาพเข้าด้วยกัน โดยภาพหนึ่งมีลักษณะแบบ Low Spatial Frequency (ภาพเบลอรายละเอียดน้อย) กับอีกหนึ่งภาพที่มีลักษณะแบบ High Spatial Frequency (ภาพที่มีรายละเอียดคมชัด) ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะทับซ้อนกัน ซึ่งการมองภาพแบบ Hybrid Image จากระยะห่างที่ต่างกันจะทำให้เราเห็นภาพออกมาไม่เหมือนกัน
ทำไมถึงเอามาใช้ทดสอบสายตาได้?
อย่างที่ได้บอกไป ว่าการมองภาพ Hybrid image จากระยะที่ต่างกันทำให้เรามองภาพออกมาไม่เหมือนกัน อย่างในเคสของรูป “Marylin Einstein” นี้ หากเรามองภาพจากระยะใกล้ๆ เราจะมองเห็นเป็นภาพของไอน์สไตน์ แต่เมื่อขยับออกมามองจากจุดที่ไกลขึ้น เราก็จะมองเห็นเป็นภาพของมาริลินแทน ซึ่งการมองเห็นของคนสายตาสั้น จะสามารถมองเห็นภาพชัดในระยะห่างที่น้อยกว่าคนปกติ จึงเป็นที่มาว่าถ้าหากคุณมองเห็นมาริลินทั้งๆ ที่ไม่ออกห่างจากภาพมาก แสดงว่าคุณมีแนวโน้มที่จะสายตาสั้นนั่นเอง แต่ถึงจะบอกว่าสามารถเอามาทดสอบได้ แต่ก็เป็นเพียงการทดสอบอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะคะ ถ้าจะให้ชัวร์ ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่านะ
เราสามารถป้องกันอาการสายตาสั้นยังไงได้บ้าง?
แบบทดสอบจะได้ผลต่อเมื่อเราเริ่มมีอาการสายตาสั้นแล้ว แต่ทางที่ดีถ้าสามารถป้องกันและดูแลดวงตาให้ดีตั้งแต่แรก ก็น่าจะดีกว่ามาหาทางรักษาเอาทีหลังใช่ไหมล่ะคะ
- อย่าจ้องจอหรือเอกสารใกล้เกินไป
- ขณะทำงานควรเปิดไฟให้สว่างเพียงพอ
- พักสายตาระหว่างทำงานอยู่เสมอ
- หาโอกาสทำกิจกรรมกลางแจ้งบ้าง เพื่อให้สายตาได้มีโอกาสมองวัตถุในระยะไกล
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นให้ดวงตา
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ดวงตาได้พักการใช้งาน
ถ้าอยากบริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตา ลองทำตาท่าทางแบบนี้สิ CLICK
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Open Culture , Oliva Lab MIT และ ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลวิภาวดี
ABOUT THE AUTHOR Beauty See First editor