How toทำบุญอย่างไรให้ได้บุญ ปล่อยสัตว์อย่างไรให้รอด | Beauty See First

ทำบุญอย่างไรให้ได้บุญ ปล่อยสัตว์อย่างไรให้รอด | Beauty See First

ทำบุญให้ได้บุญ ปล่อยสัตว์ยังไงให้รอด

ปล่อยปลา" อย่างไร ให้ได้บุญมาก | TrueID Creator

ช่วงต้นปีแบบนี้ หลายๆ คนคงกำลังมองหาวิธีทำบุญเสริมดวงกันอยู่ใช่ไหมคะ? จะตักบาตร ถายสังฆทาน ต่อโลงหรืออะไร ก็แล้วรูปแบบที่เหมาะสม หรือความสะดวกของแต่ละคน ทว่าการปล่อยสัตว์ จริงๆ ถ้าเลี่ยงได้ก็อยากสนับสนุนให้เลี่ยงกัน เพราะน้องสัตว์แต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่ละเอียดอ่อน ถ้าเราปล่อยโดนไม่ระวังอาจทำให้น้องๆ เป็นอันตรายได้ หากเป็นไปได้ลองพิจารณาการบริจาคหรือการทำจิตอาสาก็เป็นแนวทางการทำบุญที่น่าสนใจเหมือนกันว่าไหมคะ แต่ถ้าต้องการจะปล่อยจริงๆ เรามาดูแนวทางการปล่อยให้ดีต่อตัวน้องๆ ที่สุดกันค่ะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำบุญปล่อยสัตว์

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านระบบนิเวศ ผู้เคยได้รับรางวัล ASEAN Biodiversity Heroes ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบุญด้วยการปล่อยสัตว์เอาไว้ว่า ผลกระทบที่เราต้องคำนึงเมื่อต้องการจะปล่อยสัตว์มีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ คือ

  • สัตว์ลูกผสมหรือสัตว์ต่างถิ่นไม่ควรปล่อยในแหล่งน้ำไทย เพราะอาจทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย
  • สัตว์ที่ปล่อยได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายหรือไม่ การจับสัตว์คุ้มครองถือว่าผิดกฏหมาย
  • ศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของสัตว์ชนิดนั้นให้ดี เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อปล่อยไปแล้วสัตว์จะรอดชีวิต
  • สัตว์อาจอยู่ในถิ่นอาศัยเดิมตามธรรมชาติที่เหมาะสมแล้ว แต่ถูกจับมาเพื่อให้เราปล่อยลงไปในถิ่นอาศัยที่ไม่เหมาะสม ก็จะเป็นการทรมานสัตว์และอาจทำให้สัตว์ถึงตายได้

นก

การจับนกมาขังกรง หรือใส่ถุงพลาสติกให้ปล่อย จะทำให้นกต้องอยู่ในสภาวะแออัด ซึ่งจะทำให้พวกมันอ่อนแอ และเป็นอันตราย อีกทั้งการปล่อยนกอย่างไม่มีการศึกษาข้อมูลที่ดีพอ มีโอกาสทำให้นกที่ปล่อยอดตายได้

เต่า

เต่าน้ำจืดของไทย หลายชนิดเป็นสัตว์คุ้มครอง การจับมาขายนั้นผิดกฎหมาย โดยที่อยู่อาศัยของเต่านา เต่ากับเต่าบัว เต่าดำ และ เต่าหวาย มักเป็นแหล่งน้ำที่มีทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีชายตลิ่งให้ขึ้นมาเกาะพัก และไม่ควรปล่อยเต่าลงริมคลองขนาดใหญ่หรือริมแม่น้ำที่มีท่าเป็นคอนกรีต

กบ

ที่อยู่อาศัยของกบนาควรเป็นพื้นที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง มีป่าหญ้ารกๆ และไม่ควรปล่อยกบแบบกระจุกรวมกันที่เดียว เพราะกบเป็นสัตว์ผู้ล่า สัตว์เล็กในบริเวณนั้นจะถูกรบกวนมากเกินไป และไม่ควรปล่อยกบลงในคลอง หรือแม่น้ำ เพราะมีโอกาสรอดต่ำ

กลุ่มปลาที่ไม่ควรปล่อย

คือ กลุ่มปลาต่างถิ่น ที่อาจทำลายระบบนิเวศเดิมของแหล่งน้ำ

  • ปลาซัคเกอร์ หรือปลาราหู เป็นปลาต่างถิ่น กินไข่ปลาท้องถิ่น แย่งที่อยู่อาศัย แย่งอาหาร
  • ปลาจาระเม็ดน้ำจืด เป็นสายพันธุ์เดียวกับปลาปิรันย่าที่ไม่ดุนัก แต่ก็ไม่ควรปล่อยลงแหล่งน้ำไทย
  • ปลานิล และปลาทับทิม เป็นสัตว์ต่างถิ่นจากแอฟริกา
  • ปลาไน และปลาคาร์พ เป็นปลาต่างถิ่นจากจีน
  • ปลาดุกบิ๊กอุย เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกาและปลาดุกอุยของไทย เป็นปลาที่กินเนื้อสัตว์ อาจทำลายระบบนิเวศได้

กลุ่มปลาที่ปล่อยได้

ควรศึกษาชนิดสายพันธุ์และแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมก่อนปล่อย

  • ปลาช่อน ควรปล่อยในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำรกๆ และควรปล่อยกระจายๆ ไม่กระจุกรวมกัน
  • ปลาไหล ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตื้น มีป่าหญ้าลอยน้ำ ไม่ควรปล่อยลงคลอง หรือแม่น้ำ
  • ปลาหมอไทย ควรปล่อยในแหล่งน้ำนิ่ง มีพืชน้ำขึ้น และควรปล่อยกระจายๆ กัน
  • ปลาสวาย ควรปล่อยปลาที่มีขนาด 3-4 นิ้วขึ้นไป ปล่อยลงคลองโอกาสรอดมากกว่าแม่น้ำ
  • ปลาบู่ ควรปล่อยในแหล่งน้ำที่มีบริเวณกองหิน มีขอนไม้ใต้น้ำ ระวังอย่าปล่อยปลาบู่น้ำกร่อยลงคลอง
  • ปลากราย ควรปล่อยปลาขนาดความยาว 4-5 นิ้วขึ้นไป ปล่อยลงคลองหรือแม่น้ำได้ แต่ควรหาจุดที่ตลิ่งมีพืชน้ำเยอะๆ
  • ปลาตะเพียน ไม่ควรปล่อยลงคลองหรือแม่น้ำ อย่าปล่อยในจุดที่มีปลาชนิดอื่นเยอะๆ อาจถูกกินได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article