How toนอนดึกตื่นสาย อาจเสี่ยงโรคถึงแม้จะนอนครบชั่วโมง

นอนดึกตื่นสาย อาจเสี่ยงโรคถึงแม้จะนอนครบชั่วโมง

นอนดึกตื่นสาย อาจเสี่ยงโรคถึงแม้จะนอนครบชั่วโมง

นอนดึกตื่นสาย อาจเสี่ยงโรค

โดยค่าเฉลี่ยการนอนในวัยทำงานอย่างเราๆ ควรจะนอนให้ได้ 8 ชั่วโมง ซึ่งเวลานอนที่ดีคือช่วง 22:00-06:00 น. เพราะคือเวลาคาดเกี่ยวในการทำงานของ Growth Hormone และอวัยวะต่างๆ เพื่อเป็นการซ่อมแซมเซลล์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดี ไม่แก่ก่อนวัย

เชื่อว่าต้องมีหลายคนเคยคิดว่า ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์หรือหยุดยาว จะนอนดึกๆ ตื่นสายๆ แบบลืมเวลากันไปเลยใช่ไหมล่ะ!?

แต่รู้หรือไม่หากเราทำแบบนั้นเป็นประจำ ก็มีความเสี่ยงที่ร่างกายอาจสับสน และทำให้สมองสั่งการให้เราตื่นสายกว่าเวลาปกติในวันทำงานออกไปได้ หรือบางคนอาจสะดุ้งตื่นตามเวลาที่ร่างกายชิน ทำให้คุณภาพการนอนก็ลดลงไปอีก ยิ่งถ้าใครนอนดึกตื่นสายเป็นประจำติดต่อกันนานๆ บอกเลยว่า เสี่ยงทั้งโรค ทั้งความถดถอยของร่างกายการนอนดึกตื่นสาย กระทบต่อพฤติกรรมและแง่จิตใจได้หลายคนชอบคิดว่าวันหยุดจะนอนดึกตื่นสาย และใช้หลักนอนยาวให้ครบ 8 ชั่วโมง แต่แท้จริงแล้วมันดันเป็นเวลาที่ขัดกับนาฬิการ่างกายปกติ จากที่จะพักผ่อนให้เพียงพอก็กลายเป็นผลด้านลบแทน ร่างกายอ่อนเพลีย เราจึงไม่ควรทำบ่อยเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเสี่ยง

  • ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง ร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟูจากการนอนผิดเวลา ทำให้อวัยวะบางอย่างอ่อนล้า ระบบก็เสียสมดุล โดยเฉพาะตับกับไต ก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ร่างกายอาจตอบสนองกลับมาในรูปแบบผมร่วง ป่วยง่าย กระดูกและฟันอ่อนแอ
  • การย่อยผิดปกติ จากการกระทบระบบการทำงานของถุงน้ำดีที่มีผลต่อการดูดซึมอาหาร จึงทำให้การทำงานเสียสมดุลได้ ซึ่งถ้าเรานอนดึกตื่นสายเป็นระยะเวลานาน ก็อาจเป็นปัญหาเรื้อรัง
  • เบลอ สมาธิสั้น เหมือนคนนอนน้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำแค่บางช่วงในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ แต่พอกลับมาทำงานในวันรุ่งขึ้นแล้วต้องตื่นเวลาเดิม มีความเป็นไปได้ที่จะเบลอ ไม่มีสมาธิ ภาวะการตัดสินใจน้อยลง จากการที่นาฬิการ่างกายเริ่มเปลี่ยนไปทีละนิดนั่นเอง ร่างกายก็สั่งสมองให้ตื่นสายขึ้น เราจึงรู้สึกว่าทำไมนอนไม่พอ ไม่กระปรี้กระเปร่า
  • ไม่ว่าจะนอนดึกตื่นสายในระยะสั้นหรือระยะยาว ก็มีโอกาสรู้สึกปวดหัวตื้อได้ เพราะมันเกี่ยวกับแสงภายนอกด้วยเช่นกัน เมื่อเราตื่นสายก็จะเจอแสงแดดที่จ้า ทำให้หลอดเลือดต้องมีการปรับตัวที่มากจากการขยายตัวเพื่อเร่งการสูบฉีดร่างกายให้อุณหภูมิสูงขึ้นให้เท่าๆ กับอากาศภายนอกนั่นเอง
  • รู้สึกเฉื่อยชา ขี้เกียจ นั่นแหละคืออาการที่อาจบ่งบอกได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อถดถอย ยิ่งคนไม่ออกกำลังกายยิ่งเสี่ยงเพิ่มขึ้น

แล้วการนอนดึกตื่นสายเสี่ยงโรคอะไรบ้าง

  • โรคอ้วน แน่นอนว่าพอเรานอนดึกตามพฤติกรรมแล้วคนเรามักจะเหงาปาก! โดยเฉพาะมื้อหลังสองทุ่ม และต้องหาอะไรทาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสไตล์ฟาสฟู้ดหรือขนมขบเคี้ยวที่มีแคลอรีสูง จึงเสี่ยงต่อการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น แถมบางรายตื่นสายมากจนจัดหนักในมื้อเย็น ก็เสี่ยงต่อโรคอ้วน ยิ่งไม่ออกกำลังกายก็ยิ่งเสี่ยงสูงเข้าไปอีก
  • โรคเบาหวาน อันนี้คล้ายคลึงกับพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่เลือกบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากๆ และการตอนตื่นสายทำให้เลยเวลาทานมื้อเช้า ร่างกายก็ต้องการน้ำตาลให้เลือดมากขึ้นเมื่อตื่น เราก็จะรู้สึกอยากของหวาน จึงเกิดเป็นภาวะอ้วนง่ายและมีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานได้นั่นเอง
  • เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับบางคนถ้านอนโดยไม่มีคุณภาพ ชอบสะดุ้งตื่น จะทำให้ร่างกายหลับไม่สนิท จึงเกิดการหงุดหงิดง่าย อ่อนล้า เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะกระทบต่อหัวใจได้เช่นกัน

คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนอน

ร่างกายพอทำอะไรซ้ำๆ มันก็เกิดความชิน การนอนก็เช่นกันเราควรจะนอนและตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันสม่ำเสมอ และนอนให้เพียงพอ ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพการนอนที่ดี เช่น แสงสว่างในการนอน ความสะอาด กลิ่นที่ผ่อนคลาย ไม่มีเสียงรบกวน

แต่ในกลุ่มของคนนอนน้อย วันละ 4-5 ชั่วโมง แล้วต้องตื่นเช้าปกติ แนะนำให้งีบช่วงกลางวัน เช่น ช่วงบ่ายหลังจากทานข้าว ไม่เกินวันละ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้น และสดชื่นขึ้น (ถ้าเจ้านายคุณไม่ว่าอะไรอ่ะนะ!) เพราะการงีบมีประโยชน์อย่างมาก!

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article