How toปวดหลังบริเวณไหน สาเหตุมาจากอะไร? มีคำตอบ!

ปวดหลังบริเวณไหน สาเหตุมาจากอะไร? มีคำตอบ!

ปวดหลังบริเวณไหน

จะเรียกว่าเป็นปัญหาระดับสากลเลยก็ได้นะ สำหรับอาการปวดหลัง เชื่อว่าใครๆ ก็ต้องเคยมีประสบการณ์การปวดหลังกันมาบ้าง แต่รู้รึเปล่าว่าการปวดหลังในตำแหน่งที่เราเป็นอยู่นั้น จริงๆ แล้วมันมีที่มาสาเหตุจากอะไร  เพราะถ้ารู้ตัวการหรือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการปวดหลัง เราจะได้เลี่ยงได้ยังไงล่ะ!

บริเวณหลังส่วนบนจะคลอบคลุมอาการปวดของช่วงบ่า ไหล่ ท้ายทอย สะบักและต้นคอ โดยทั่วๆ ไปแล้ว มักจะเกิดกับคนที่มีพฤติกรรมที่ชอบก้มหน้าตาก้มเล่นมองจอคอมพิวเตอร์ เล่นมือถือเป็นเวลานานๆ หรือคนที่สะพายเป้ แบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เกิดการลงน้ำหนักบริเวณบ่า จนกล้ามเนื้อรอบข้างอย่างคอและหลังเกร็งไปด้วย

ปวดบริเวณหลังส่วนกลาง

เป็นหลังส่วนที่กินบริเวณช่วงกลางหลังมาถึงบริเวณปีก ซึ่งหากมีอาการปวดในบริเวณนี้ มีความเป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุจากการนอนบนเตียงที่ไม่เหมาะสม ไม่รองรับสรีระร่างกายดีพอ มีลักษณะนุ่มหรือแข็งมากเกินไป อาจทำให้เกิดการโค้งแอ่นของแผ่นหลังเป็นที่มาของอาการปวด หรือในบางกรณีที่เป็นการขยับท่าทางขณะออกกำลังกาย หรือเอี้ยวตัวที่ผิดจังหวะก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดบริเวณนี้ก็ได้เช่นกัน

ปวดบริเวณหลังล่าง

คือบริเวณของแผ่นหลังช่วงล่างมาจนถึงส่วนของเอว เป็นบริเวณที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกาย และช่วยในการเคลื่อนไหว ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าในวันที่เราต้องยืนหรือนั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เรามักจะมีอาการปวดหลังบริเวณนี้ ยิ่งถ้าหากใครที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ก็จะยิ่งส่งผลให้แผ่นหลังต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ทำให้มักจะปวดหลังบริเวณนี้อยู่บ่อยๆ นั่นเอง

ปวดหลังขนาดไหนถึงเรียกว่าอันตราย?

  • อาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลามากกว่า 2 – 3 สัปดาห์
  • มีอาการปวดตอนกลางคืน บางครั้งนอนหลับไปแล้วก็รู้สึกปวดจนต้องตื่นมาทานยาแก้ปวด เป็นสัญญาณเตือนของภาวะเนื้องอกและการอักเสบติดเชื้อ
  • มีอาการปวดหลังที่ร้าวลงขา บางครั้งมีร่วมกับอาการชาและอ่อนแรง เป็นสัญญาณของการกดทับเส้นประสาท

ป้องกันอย่างไรถ้าไม่อยากปวดหลัง

  • ออกกำลังกายและทำกายบริหารในท่าทางที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่หักโหม
  • ปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่ง ยืน เดิน นอน ให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง เช่น การยกของน้ำหนักมากๆ ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
  • งดสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม (ศึกษาเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมได้ ที่นี่)
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ

TIPS :

การใส่รองเท้าส้นสูง ยิ่งส้นสูงมากเท่าไหร่ยิ่งต้องแอ่นหลังไปข้างหน้ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เราต้องเกร็งกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ เป็นการเพิ่มภาระให้กระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหลังนั่นเอง ทางที่ดีไม่ควรใส่ส้นสูง ที่สูงเกิน 2 นิ้ว หรือถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ไม่ควรใส่นานเกินไป (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว และสรีระของแต่ละคนด้วย สังเกตตัวเองง่ายๆ คือเมื่อเมื่อยก็ให้เปลี่ยนไปใส่รองเท้าส้นเตี้ยบ้าง) เพื่อไม่เป็นการเพิ่มแรงกดทับให้เท้าและแผ่นหลังจนเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ต้น ชลชัย อานามนารถ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโลโนยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และ ข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article