หลายๆ คนน่าจะเคยเจอกับสถานการณ์ลุกไม่ขึ้นหลังจัดหนักกับอาหารมื้อใหญ่ๆ โดยเฉพาะสายเนื้อทั้งหลาย มันรู้สึกอึดอัดแน่นพุงไปหมดเลยใช่ไหมล่ะคะ? ขอบอกเลยว่าตัวช่วยดีๆ ในสถานการณ์แบบนี้ ก็คือผลไม้ที่สามารถช่วยย่อยได้ยังไงล่ะ ใครที่อยากโบกมือลาปัญหาท้องอืดล่ะก็ ลองไปหาผลไม้ 5 อย่างนี้ทานหลังมื้ออาหารดูสิคะ
ช่วยย่อยได้ดีขนาดไหน ก็ขนาดว่ามีสูตรหนักเนื้อที่ใช้สับปะรดเป็นส่วนประกอบนั่นแหละค่ะ เพราะว่าในผลไม้ชนิดนี้ มีเอนไซน์ชื่อ โบรมีเลน (Bromelain) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยย่อยโปรตีน ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และยังช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยนะ
- สับปะรดภูแล 100 กรัม มีน้ำตาล 11.1 กรัม
- สับปะรดศรีราชา 100 กรัม มีน้ำตาล 12.6 กรัม
- สับปะรดภูเก็ต 100 กรัม มีน้ำตาล 14.5 กรัม
มะละกอ
ในมะละกอมีเอนไซน์ชื่อ พาเพน (Papain) เป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีคุณสมบัติช่วยย่อยเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ทำให้ช่วยลดอาการแน่นท้อง และมะละกอก็เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงช่วยในการทำงานของระบบย่อยและระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
- มะละกอฮาวาย 100 กรัม มีน้ำตาล 9.9 กรัม
- มะละกอแขกดำ 100 กรัม มีน้ำตาล 9.5 กรัม (ค่าเฉลี่ย)
ส้ม
ส้มเป็นผลไม้รสเปรี้ยวหวาน ที่มีฤทธิ์ความเป็นกรดอ่อนๆ การทานส้มสามารถช่วยย่อยอาหารที่มีไขมันสูงได้ อีกทั้งส้มยังเป็นผลไม้ที่มีทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และกากใยอาหารสูง ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ไม่แพ้ผลไม้อื่นๆ ในลิสต์ของเราเลยล่ะ
- อ่านปริมาณน้ำตาลในส้ม ได้ตรงนี้เลย CLICK
กีวี่
ในกีวี่มีเอนไซม์ชื่อแอคทิดิน () ซึ่งช่วยในการย่อยโปรตีนโดยเฉพาะเนื้อปลาและนม ลดปัญหาท้องอืด ทั้งยังมีไฟเบอร์มาก ทำให้ระบบย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้ดี รวมถึงมีโพรไบโอติก ช่วยรักษาสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ด้วย
- กีวี่เขียว 100 กรัม มีน้ำตาล 8.9 กรัม
- กีวี่ทอง 100 กรัม มีน้ำตาล 10.9 กรัม
แอปเปิ้ล
ในแอปเปิ้ลมีแพคตินที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ลำไส้ย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วย ที่สำคัญในแอปเปิลยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่หลากหลาย ดีต่อการทำงานของอวัยวะภายในทั้งลำไส้ กระเพาะอาหาร และเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- แอปเปิ้ลแดง 1 ผล มีน้ำตาล 13.6 กรัม
- แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล มีน้ำตาล 8.7 กรัม
TIPS :
ถึงผลไม้รสเปรี้ยวบางอย่างทานแล้วจะช่วยเรื่องย่อย แต่ก็มีข้อควรระวังเหมือนกันนะ เพราะถ้าทานมากไปอาจจะส่งผลให้ริมฝีปากดำได้ด้วยล่ะ! อ่านต่อเรื่องนี้ได้ที่ CLICK
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์สารนิเทศทางอาหารฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย