How toลักษณะขาแบบนี้ เรียกว่าอะไร แก้ไขยังไง - Beauty See First

ลักษณะขาแบบนี้ เรียกว่าอะไร แก้ไขยังไง – Beauty See First

ลักษณะขาแบบนี้ เรียกว่าอะไร แก้ไขยังไง

ขาโก่ง ขาฉิ่ง (kock-knee) เกิดจากอะไร อันตรายจหรือไม่ และรักษาอย่างไร

ลักษณะขาปกตินั้น ขณะยืนช่วงหัวเข่าและข้อเท้าจะต้องชิดกัน มีช่องว่างเล็กๆ เกิดขึ้นได้ แต่ด้วยลักษณะรูปโครงสร้างของแต่ละคน การเลี้ยงดู การใช้ชีวิตที่ต่างกันออกไป รูปขาของคนเราจึงมีลักษณะต่างกันได้นั่นเอง

ซึ่งโดยทั่วไปไม่ได้เป็นผลเสียกับร่างกาย หรือทำให้มีความเจ็บป่วย แต่หลายคนอาจรู้สึกเสียความมั่นใจ แต่ในทางกลับกันก็มีในบางรายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หากทำพฤติกรรมเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน

ลักษณะขา “เป็นอย่างไรได้บ้าง

ขาโก่ง | ไป๋เฉ่า คลินิก

ขาโก่ง

เข่าจะโค้งออกจากกัน ไม่แนบชิดกัน โดยเฉพาะเมื่อยืนเท้าชิด ทั้งนี้อาจมีผลต่อสุขภาพได้หากมีอาการขาโก่งในระยะยาว เช่น พวกเอ็นตามข้อขาและข้อเข่าเสื่อม สะโพกหรือกระดูกหน้าแข้งอาจแบะออก ปวดหลัง ปวดสะโพก

สาเหตุ
  • เกิดจากกรรมพันธุ์
  • ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  • ความผิดปกติของกระดูก เช่น ภาวะขาดสารอาหารในการสร้างกระดูก, กระดูกเสื่อม, มีอุบัติเหตุของกระดูก ทำให้ส่งผลให้แนวกระดูกมีลักษณะผิดรูปไป
  • นั่งหรือเดินผิดท่าจนร่างกายชิน เช่น ชอบนั่งแบะขา เดินเอาปลายเท้าชี้ออกด้านนอก ชอบยืนขาโก่ง
วิธีการเช็ค

ยืนท่าตรงเท้าชิด ให้ตาตุ่มทั้งสองข้างแตะกัน แล้วสังเกตหน้ากระจกดูว่ามีช่องว่างระหว่างช่องขาหรือช่วงหัวเข่าหรือไม่ ถ้ามีอาจเข้าข่ายภาวะขาโก่งได้

วิธีแก้ไข
  • หากเกิดจากพฤติกรรมเราเอง สามารถแก้ไข้ได้ด้วยการปรับท่าต่างๆ ให้อยู่ในลักษณะปกติ เช่น การพยายามเดินให้ปลายเท้าขี้ไปทางหน้า, ไม่ยืนขาโก่ง ควรนั่งในลักษณะท่าขาตรง
  • ออกกำลังกายร่วมด้วยจะช่วยแก้ขาโก่งได้เช่นกัน อย่างท่าออกกำลังกายคือ ท่า Squat ท่า Bridge Pose และท่า Walking Lunges
  • การผ่าตัด ซึ่งในกรณีนี้มักจะเป็นวิธีสำหรับผู้ที่ขาโก่งค่อนข้างมากหรือมีผลต่อสุขภาพ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและสะดวกขึ้น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยอีกครั้งลูกใครเป็นปรับด่วน! แพทย์ เผยสาเหตุ ห้ามเด็กนั่งแบะขาท่า W

ขาแบะ

ปัจจุบันมีชื่อเรียกหลายชื่อมาก เช่น ขารูปตัว X, ขาเป็ด หรือขาฉิ่ง ที่เป็นลักษณะหัวเข่าบิดหรือเอียงเข้ามาด้านในลำตัว ซึ่งหากขาแบะจนเห็นชัดมาก แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงข้อเข่าหรือสะโพกเสื่อมในอนาคต

สาเหตุ
  • เกิดจากกรรมพันธุ์
  • ลักษณะการนั่งที่ทำเป็นประจำหรือเป็นระยะเวลานาน เช่น ชอบนั่งไขว่ห้าง, นั่งหุบชิด, นั่งขาเป็ดคล้ายตัว W
  • มีฝ่าเท้าแบนราบ (Flat Feet) ก็อาจเป็นสาเหตุของการเป็นภาวะนี้ได้
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดปัญหาที่ข้อเข่าได้
วิธีการเช็ค

เมื่อยืนตรง หากเข่าชิดจะชนกัน และขาช่วงล่าง รวมถึงตาตุ่มแยกออกจากกันอย่างเห็นชัดเจน ก็อาจมีภาวะขาแบะได้

วิธีแก้ไข
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เช่น ให้นั่งท่าต่างๆ สลับกันบ้าง ไม่นั่งขาชิดตลอดเป็นระยะเวลานาน หรือการลดน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน
  • ออกกำลังกายช่วยได้ ด้วยการเน้นการออกบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน ซึ่งจะเป็นท่าในลักษณะโยคะง่ายๆ เช่นท่า Single Leg Deadlift, Butterfly Stretch และท่า Clamshell
  • ถ้าเป็นมากจนเห็นชัดหรือกระทบการใช้ชีวิต แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกวิธีอาการเข่าแอ่น เกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหมคะ - Pantip

ขาแอ่น

หรือเข่าแอ่น เป็นลักษณะขาที่สังเกตได้ชัดขึ้นในมุมด้านข้างและด้านหน้าประกอบกัน และผู้ที่มีภาวะนี้มักมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ ถึงแม้ว่าอายุยังน้อยก็ตาม

สาเหตุ
  • เกิดจากกรรมพันธุ์
  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน หรืออาจเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลต่อข้อเข่าต่างๆ มาก่อน
  • ชอบเล่นกีฬากระโดดสูง ก็อาจเกิดขึ้นได้
วิธีการเช็ค

ยืนขาชิดเข้าหากระจก โดยหันด้านข้าง เพื่อดูความแอ่น หากช่วงขาตั้งแต่เข่าลงไป มีความแอ่นโค้งไปด้านหลังจนสังเกตได้ และมองจากด้านหน้าแล้วมีช่องว่างคล้ายกับขาโก่งช่วงขาล่าง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีภาวะนี้

วิธีแก้ไข
  • การออกกำลังกายก็ช่วยได้ โดยเน้นกล้ามเนื้อขาให้มีความแข็งแรงสมดุลกัน อย่างการยกส้นเท้าขึ้นลง, ท่า Squat หรือการเดินขึ้นลงบันได
  • หากรู้สึกแอ่นมากผิดปกติ หรือมีอาการปวดตามข้อเข่า ควรปรึกษาแพทย์

ขาเบียด เกิดจากอะไร รู้สาเหตุพร้อมวิธีลดขาเบียดแบบเร่งด่วน

ขาเบียด

อีกหนึ่งขาที่หลายคนชอบพูดถึงมาก เราเลยขอยกขึ้นมาเช็คกันหน่อย ซึ่งอาจจะต่างออกไปจากทั้ง 3 ลักษณะขาที่พูดมาถึงก่อนหน้านี้ เพราะเราจะเน้นไปที่ขาเบียดจากพฤติกรรมการทานโดยตรง ทำให้ลักษณะขาดูชิดเบียดกัน แต่ทั้งนี้อาจมีลักษณะขาช่วงล่างอย่างใดอย่างนึงร่วมด้วยก็ได้

สาเหตุ
  • การสะสมของไขมันส่วนเกินจำนวนมากบริเวณต้นขาด้านใน จากการชอบทานของที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นระยะเวลานาน
  • ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ไขมันเหล่านี้จึงไปรวมกันอยู่ที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะต้นขาจะเป็นจุดที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่นกัน
วิธีการเช็ค

ขณะยืนจะมีเส้นรอบวงช่วงตรงขาใหญ่จนรู้สึกเบียดกัน ดูเหมือนต้นขาหนีบเข้าหากัน บางคนอาจมีสีผิวที่คล้ำขึ้นบริเวณที่เกิดจากการเสียดสีของขาทั้งสองข้าง

วิธีแก้ไข
  • แน่นอนว่าการออกกำลังกายที่เน้นการเบิร์นลดไขมันช่วงต้นขาจะได้ผลมาก
  • ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูง และน้ำตาลสูง
  • อาจใช้วิธีการดูดไขมันหรือการศัลยกรรมเพื่อลดต้นขา แต่วิธีนี้ควรศึกษาและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article