สุขภาพอดนอน

อดนอน

web3-5018814

มีหลายงานวิจัยในต่างประเทศที่สนับสนุนว่า การงีบหลับตอนกลางวันนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อคนทำงาน เพราะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คิดงานได้ลื่นไหล แถมยังเติมพลังงานให้ร่างกายอีกด้วย และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องขำๆ เพราะในบางประเทศนั้น เค้าอนุญาตให้งีบหลับช่วงกลางวันได้อีกด้วยนะจ้า เช่น กรีซ บราซิล แม็กซิโก และญี่ปุ่น ฯลฯ งีบหลับนะ ไม่ใช่นอนหลับ ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Napping ไม่ใช่ Sleeping เพราะฉะนั้นหากแปลเป็นไทย จะหมายถึงการงีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่นอนหลับไปเลยนะจ๊ะทุกคน ซึ่งเวลาที่บอกว่าเหมาะสมคือช่วง 13:00 – 15:00 น. และแนะนำว่า ควรงีบไม่เกิน 30 นาที และไม่ควรเกินกว่า 90 นาที เช่น เรารู้สึกง่วงตอน 13:00 แปลว่าเรางีบได้ถึงประมาณ 13:30 ซึ่งเรื่องนี้ทางองค์การนาร์ซ่าเองก็เคยทำกับนักบินอวกาศมาแล้ว โดยให้งีบกลางวันได้ 40 นาที ก็พบว่า มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่ม 34% และทำให้ตื่นตัวมากถึง 100% เหตุผลคือ การงีบช่วงเวลากลางวันนั้น มีผลต่อสมองแน่นอน แต่เป็นผลที่ดี เหมือนเป็นการชาร์จพลังให้ร่างกาย หลังงีบจึงรู้สึกตื่นและสดชื่นขึ้น

การอดนอน อาจเป็นอันตรายได้ และอย่างที่เรารู้ว่าผู้ใหญ่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ควรนอนประมาณ 7 – 8 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน ซึ่งตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ยังบอกเพิ่มเติมว่าคนเราสามารถที่จะตื่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ หากอยู่ในช่วง 17 ชั่วโมง แต่หากเกินกว่า 24 ชั่วโมง แน่นอนว่าร่างกายต้องมีการตอบสนองไม่ทางใดก็ทางนึงจ้า สถิติโลกของคน “อดนอน” อยู่ได้นานถึง 11 วัน ต้องบอกว่าเป็นข้อมูลล่าสุดของคนๆ เดียวเท่านั้นที่เคยถูกบันทึกเป็นสถิติโลกเมื่อปี 2010 ว่าอดนอนได้ถึง 11 วัน หรือประมาณ 266 ชั่วโมง ซึ่งทำลายสถิติของเดิมที่ 264 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เคยมีหลักฐานชัดเจนมายืนยันได้ว่าคนเรา หรือหมายถึงทุกๆ คนนี้แหละ จะอดนอนได้นานกี่วัน “อดนอน” กี่วัน อาการเป็นอย่างไร 1 วัน: ง่วงนอน หงุดหงิด สมาธิความจำสั้นลง อาจเกิดการตัดสินใจผิดพลาด รวมถึงกล้ามเนื้อจะรู้สึกตึงๆ ไม่สบายตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article