How toเซลลูไลท์เกิดจากอะไร จะลดเซลลูไลท์ยังไงได้บ้าง? | Beauty See First

เซลลูไลท์เกิดจากอะไร จะลดเซลลูไลท์ยังไงได้บ้าง? | Beauty See First

เซลลูไลท์เกิดจากอะไร จะลดเซลลูไลท์ยังไงได้บ้าง?

เซลลูไลท์ เข้าใจสาเหตุและแนวทางการรักษา - พบแพทย์

ใครมีปัญหา “ผิวเปลือกส้ม” มารวมกันตรงนี้เลยจ้า แถวต้นขา ต้นแขน และหน้าท้องนี่แหละตัวดีเลย เวลาจะใส่เสื้อผ้าแขนกุดหรือกางเกงขาสั้นทีไร เป็นต้องเสียความมั่นใจทุกที แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้วนะคะ เจอปัญหาต้องแก้จากต้นเหตุ มาดูกันดีกว่าว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เชิญชวนเซลลูไลท์ให้กองกันอยู่ที่ร่างเราบ้าง!

เซลลูไลท์คืออะไร?

เซลลูไลท์ (Cellulite) หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักในนามของ “ผิวเปลือกส้ม” ก็คือ เซลล์ไขมันที่มาสะสมตัวอยู่ที่ชั้นใต้ผิวหนังของเรา ทำให้ผิวของเรามองดูแล้วเหมือนมีรอยย่น คล้ายผิวของเปลือกส้มหรือเปลือกมะกรูด ส่วนที่มักจะเกิดเซลลูไลท์ก็คือ บริเวณต้นขา สะโพก ต้นแขน และหน้าท้อง โดยทั่วไปเรามักจะพบเซลลูไลท์ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ที่น่าสนใจก็คือเซลลูไลท์สามารถพบได้ทั้งในคนผอมและคนอ้วน

พวกขนม ของทอด ชาไข่มุกทั้งหลายนี่ตัวดีเลย หรืออาหารเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่าง ผลไม้บางชนิดก็เรียกเซลลูไลท์ได้เหมือนกัน ซึ่งการที่เราทานน้ำตาลหรืออาหารที่มีไขมันสูงเข้าไป ถ้าหากร่างกายไม่สามารถเผาผลาญและนำพลังงานไปใช้ได้ไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมไปอยู่ในรูปของไขมัน และกลายเป็นเซลลูไลท์นั่นเอง

อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

หนึ่งในวิธีลดน้ำหนัก (แบบผิดๆ) ที่หลายคนชอบทำก็คือ การอดอาหาร แม้ว่าน้ำหนักจะลดลงเร็วก็จริง แต่ผลเสียที่ตามมาน่ากลัวอยู่เหมือนกันนะคะ เพราะการอดอาหารแบบหักโหมอาจเข้าไปรบกวนกลไกของร่างกายทำให้ร่างกายปรับตัวในการเก็บสะสมพลังงานมากกว่าปกติ ทำให้ไขมันส่วนเกินไม่ถูกกำจัดออกและกลายมาเป็นเซลลูไลท์ได้

ไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวช่วยที่ดีมากๆ ในการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินออกไป ช่วยลดการสะสมของไขมัน ดังนั้นใครที่ไม่ชอบออกกำลังกายก็จะทำให้การเผาผลาญลดลง อีกทั้งยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดี การกำจัดของเสียทางเลือดและน้ำเหลืองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล กลายเป็นปัญหาต่อเนื่อง

ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ฮอร์โมนต่างๆ มีส่วนสำคัญมากในการทำงานของร่างกาย ดังนั้นหากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญด้วย เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เป็นตัวกระตุ้นการสะสมไขมันในร่างกาย (ผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงมีไขมันมากกว่า) ซึ่งการทานยาคุมกำเนิดบางชนิด ก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนได้เช่นกัน

ความเครียด

ภาวะอารมณ์เครียด จะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารกลุ่ม Catecholamines ซึ่งเป็นสารฮอร์โมนที่มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดเซลลูไลท์ อีกทั้งความเครียดยังส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และศีรษะ จนอาจเกิดการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายขับของเสียออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นการส่งเสริมให้เกิดเซลลูไลท์ได้ง่ายขึ้น

ดื่มน้ำน้อย

การดื่มน้ำบ่อยๆ ช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ และส่งผลดีต่อการทำงานระบบน้ำเหลือง ช่วยในการขับถ่ายของเสีย ดังนั้นหากไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็อาจส่งผลให้เกิดเซลลูไลท์ได้ไม่แพ้กัน

นั่งนาน ยืนนาน ไม่เปลี่ยนท่า

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดและระบบน้ำเหลืองถูกรบกวน ซึ่งการนั่งนานๆ หรือยืนนานๆ โดนไม่ขยับเปลี่ยนท่าทางบ้าง นอกจะส่งผลเสียในเรื่องของการเกิดเซลลูไลท์แล้วยังสามารถสร้างปัญหาเส้นเลือดขอดและเท้าบวมได้อีกด้วย

ดื่มแอลกอฮอล์มาก

การดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เซลล์ในร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำ และก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ระบบการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งแอลกอฮอล์ยังจะเข้าไปทำลายเซลล์ตับ จนทำให้ตับขจัดสารพิษได้ไม่ดีอีกด้วย

สูบบุหรี่จัด

เป็นเพราะว่าสารนิโคตินในบุหรี่จะเข้าไปอุดตันเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก อาจส่งผลให้เกิดพังผืดและเซลลูไลท์ตามมา นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเป็นอัตรายกับร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งทำลายเซลล์ ภาวะความผิดปกติของไต ปอด ในทางเลวร้ายอาจทำให้เกิดมะเร็งได้เลยด้วย

ตัวช่วยลดเซลลูไลท์ โลชั่นกระชับสัดส่วน

เนื้อครีมเจลให้ความรู้สึกสดชื่น เบาสบาย ช่วยให้ผิวยกกระชับ และยังช่วยให้ผิวนุ่มลื่น เรียบเนียน

เจลกระชับผิวกาย ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชธรรมชาติ เนื้อเจลมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถซึมผ่านเข้าชั้นใต้ผิวหนังและ ช่วยกระชับผิวได้โดยตรง

สารสกัดจากวิตามินอีและคาโมมายล์ ช่วยกระชับลดเลือนผิวเปลือกส้ม เนื้อเซรั่มบางเบาซึมซาบไว สบายผิว

TIPS :

นอกจากปัญหาผิวเปลือกส้มแล้วปัญหาขาปูด สะโพกผาย ขาย้วย ก็เป็นปัญหาเรื่องหุ่นที่สร้างความรำคาญให้สาวๆ ได้เหมือนกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล , Medthai และ Pobpad

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article