How toใส่บราผิดไซส์ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ อาการปวดหลัง คอ และบ่า - Beauty See First

ใส่บราผิดไซส์ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ อาการปวดหลัง คอ และบ่า – Beauty See First

ใส่บราผิดไซส์ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ อาการปวดหลัง คอ และบ่า

5 อันตรายจากการใส่ชุดชั้นในคับ รู้แล้ว รีบเปลี่ยนไซส์ด่วน

ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งนี้คือปัญหาที่ถูกมองข้ามจากสาว ๆ จำนวนมาก อ้างอิงจากงานวิจัยแบบสำรวจของ Triumph พบว่า 80% ของผู้หญิงกำลังใส่บราที่ไม่ใช่ไซส์ที่เหมาะสมกับตัวเองอยู่ ซึ่งการสวมใส่บราที่มีขนาดไม่พอดีกับหน้าอกของเรา อาจส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ อย่างการเสียบุคคลิก อึดอัดหายใจไม่สะดวกไปจนถึงปัญหาใหญ่ ๆ จากการซัพพอร์ตหน้าอกที่ไม่ดีพอ เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไปจนถึงหน้าอกเสียทรงได้เลยทีเดียว นอกจากนั้นการสวมใส่บราที่แน่นเกินไปยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า และหลัง เนื่องจากการรั้งน้ำหนักจากสายบรานั่นเอง

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเรากำลังใส่บราผิดไซส์อยู่รึเปล่า? วันนี้ Beauty See First ได้รวมวิธีสังเกตุด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ ทำได้ที่บ้านมาไว้ให้แล้ว เพราะฉะนั้น สวมบราตัวเก่งแล้วมาเช็คไซส์กันเถอะ!

1. ด้านหน้าบราแนบสนิทกับร่องหน้าอก

ส่วนกึ่งกลางของบราควรแนบสนิทไปกับร่องหน้าอก โดยไม่ทำให้รู้สึกแน่นหรืออึดอัด

9 เทคนิคใส่บรายังไง? ช่วยเสริมหน้าอกให้สวย

2. เนื้ออกโดนดันจนปลิ้นเกินขอบบราออกมา

หากเนื้ออกโดนบีบจากบราจนปลิ้นออกเหนือขอบบรา ดังภาพตามเส้นประ แสดงว่าบรานี้เล็กเกินไป

รู้ด่วน!!! ใส่บราผิดไซส์อันตรายมากกว่าที่คิด – AKERU

3. มีช่องว่างมากเกินไประหว่างหน้าอกและบรา

ในทางกลับกันหากสวมใส่แล้วพบว่ามีช่องว่างระหว่างบรากับหน้าอกมาก ๆ แสดงว่าบราตัวนี้ใหญ่เกินไป

ส่องด่วน! 7 ปัญหา " ใส่บราไม่พอดี เพราะอะไร " ต้องแก้ยังไงให้อกสวยเป๊ะ

4. ฐานโครงบราต้องรองรับรอบฐานเต้า

ฐานโครงบราจะทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของเต้า และซัพพอร์ตในการเคลื่อนไหว จึงต้องอย่ในตำแหน่งที่ล้อมรอบฐานเต้าของเราพอดี โดยไม่อยู่เหนือหรืออยู่ใต้ฐานเต้าจนเกินไป

ส่องด่วน! 7 ปัญหา " ใส่บราไม่พอดี เพราะอะไร " ต้องแก้ยังไงให้อกสวยเป๊ะ

5. สายเกี่ยวบราด้านหลังต้องอยู่ในแนวขนานกับแผ่นหลัง ไม่รั้งหรือย่อนคล้อย

วิธีสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือสายเกี่ยวด้านหลังต้องอยู่ในลักษณะเส้นตรงขนาน ไม่รั้งขึ้น หรือย่อนลง

รู้ด่วน!!! ใส่บราผิดไซส์อันตรายมากกว่าที่คิด – AKERU

6. ไม่รัดแน่นจนเกินไป สามารถสอดนิ้วมือ 2 นิ้วได้

วิธีที่ง่ายที่สุดในการเช็คว่าบราแน่นเกินไปหรือไม่ คือการสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปบริเวณสายเกี่ยวบรา ซึ่งจะต้องสอดเข้าไปได้ โดยที่ไม่รู้สึกบีบแน่นหรือหลวมจนเกินไป

ใส่ชุดชั้นในผิดไซซ์ ดูได้จาก 18 สัญญาณบ่งชี้ พร้อมวิธีเลือกบราที่ถูกต้อง

7. สายบราไม่หลวมจนเลื่อนหลุดจากบ่า

การปรับระดับสายบราก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยปรับไม่ให้หลวมจนเลื่อนหลุดจากบ่าได้ง่าย ๆ

เทคนิคจบ 7 ปัญหาการใส่ชุดชั้นใน ที่มักจะเจอกันบ่อยๆ

8. สายบราไม่รัดแน่นจนกดเข้าเนื้อ

ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่แน่นจนรั้งและกดลึกเข้าเนื้อ จนทิ้งรอยแดงบริเวณบ่าเมื่อถอดออก

ส่องด่วน! 7 ปัญหา " ใส่บราไม่พอดี เพราะอะไร " ต้องแก้ยังไงให้อกสวยเป๊ะ

9. เมื่อลองปลดสายบราลง

วิธีเช็คขั้นสุดท้าย คือลองปลดสายบราลงแล้วตัวบรายังคงเกาะและซัพพอร์ตหน้าอกของเรา แสดงว่านี่แหละคือบราที่ใช่!

เสื้อชั้นในเกาะอกไม่มีสาย รัดสำหรับผู้หญิงสำหรับผู้หญิงหญิงสาวชุดชั้นในสตรีชั้นในล่องหนเสื้อชั้นในครึ่งตัวแบบหัวเข็มขัดด้านหน้าไร้รอยต่อ บราครึ่งตัวดันบราแบบส่วนบน | Lazada.co.th

.

นอกเหนือจากนี้เราขอแนะนำให้คุณเช็คไซส์ทุก ๆ 6 เดือน เพราะขนาดหน้าอกของเรามักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทั้งปัจจัยจากน้ำหนัก ฮอร์โมน การออกกำลังและอื่น ๆ ทางที่ดีจึงควรเช็คทุก ๆ 6 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสวยใส่บราที่มีขนาดพอเหมาะกับเราอยู่เสมอ

TIPS :

เลือกบราที่ทำจากเนื้อผ้าไลครา (Lycra) หรือผ้าสเปนเด็กซ์ (Spandex) เพราะเนื้อผ้าชนิดนี้จะช่วยกระชับหน้าอกของเราให้ได้รูปโดยที่ตัวบราไม่เสียทรง

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก Debenhams : Your Perfect Bra Fitting Guide

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article