การหาวคือหนึ่งในกลไกของร่างกายเนื่องจากต้องการออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด และนำเอาคาร์บอนไดออกไซค์ในเลือดออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ความถี่ของการหาวนั้นก็อาจกลายเป็นหนึ่งในอาการของบางโรคได้เช่นกัน ซึ่งตามข้อมูล หากคนเราหาวมากกว่า 1 ครั้งต่อนาที รวมถึงมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์แล้วนะ เพราะคุณอาจจะกำลังเผชิญกับโรคบางโรคอยู่ก็เป็นได้ ตัวอย่างโรคที่การหาวอาจบอกความผิดปกติได้ โรคอ้วน ลักษณะของคนที่มีน้ำหนักเกินนั้น ในช่วงเวลานอนอาจเกิดความไม่สบายตัว มีความคล่องตัวน้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้ตื่นกลางดึกบ่อย หรือบางรายมีอาการกรนร่วมตัว จึงทำให้เกิดอาการหาวจากความอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอได้ โรคนอนไม่หลับ การหาวเกี่ยวข้องโดยตรงกับการนอนไม่หลับได้แน่นอน ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ หากเป็นอาการนี้ควรปรึกษาแพทย์ อย่าปล่อยให้ร่างกายต้องเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียมากเกินไป ตับวาย การหาวบ่อยมักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีภาวะโรคไตในขั้นรุนแรงได้ เนื่องจากตับจะสูญเสียการทำงาน ผู้ป่วยก็จะนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ระหว่างวันนั่นเอง โรคลมชัก เป็นความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง จึงส่งผลต่อความผิดปกติของร่างกายและระบบประสาทจนถึงขั้นควบคุมตัวเองไม่ได้ และเกิดอาการต่างๆ ที่ซับซ้อนมาก หนึ่งในนั้นคือการหาวบ่อยมากกว่าเดิม โรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้หัวใจขาดออกซิเจน จึงเกิดอาการหาวบ่อย ยิ่งถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย หายใจสั้นลง ปรึกษาแพทย์ด่วนเลยนะจ้า เนื้องอกในสมอง เกิดจากสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณเซลล์สมองหรือต่อมต่างๆ บริเวณใกล้เคียงกับสมอง จึงส่งผลต่อระบบเลือดในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอหรือส่งมาได้ลำบาก ร่างกายจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS ชื่อเต็มๆ
งีบ คือการหลับไปช่วงขณะหนึ่งในเวลาสั้นๆ ซึ่งการงีบนั้น เคยมีงานวิจัยหลายฉบับ วิจัยถึงผลดีและผสเสียของการงีบระหว่างวัน ซึ่งได้เป็นข้อสรุปว่า การงีบจะเหมาะกับผู้ที่นอนกลางคืนไม่เพียงพอ ควรงีบในเวลาสั้นๆ เพราะหากงีบนานเกินไป โดยเฉพาะมากกว่า 1 ชั่วโมง ทำติดต่อกันนานๆ ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ งีบกี่นาทีดี ต่อสมอง 10 – 20 นาที หรือเรียกว่าช่วง Power Nap จะช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัว ปลอดโปร่ง เป็นการช่วยเพิ่มพลังงาน และลดความงัวเงียได้ จึงทำให้เรารู้สึกสดชื่นพร้อมทำงานได้ต่อ 60 นาที เป็นช่วงที่หลายคนหลับได้ลึกขึ้น ทำให้สมองมีการส่งคลื่นสั้นๆ จึงส่งผลต่อการเสริมความจำให้ดียิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจทำให้เรารู้สึกงัวเงียมากกว่าการงีบในเวลาที่สั้นกว่า 90 นาที ยังคงเป็นระยะเวลาที่ถูกเถียงมากมายว่า มีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่? ทั้งนี้ในการงีบนอน 90 นาทีถือเป็นช่วงเวลาที่หลับลึกถึงขั้นฝันได้เลย หากคนที่นอนไม่พอในช่วงกลางคืนจะงีบหลับในช่วงเวลานี้ และไม่ได้ทำบ่อยเกินไป ก็ช่วยให้สมองได้พักเต็มที่มากขึ้น จึงช่วยเรื่องความจำ อารมณ์ดีขึ้น และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง Credit Source: scienceofpeople และ dailyinfographic
หลังกินข้าวเที่ยง มันช่างง่วงนอนซ่ะจริงๆ หรือเป็นเพราะเราขี้เกียจทำงานกันแน่! แท้จริงแล้วสาเหตุนึงมาจากร่างกายเราเองนี่แหละที่เกิดการเปลี่ยนไป! เพื่อนำสารอาหารที่เราทานไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานนั่นเอง กินข้าวแล้วง่วง สาเหตุมันเป็นอย่างนี้ ทางด้านการแพทย์ตั้งชื่ออาการลักษณะนี้ว่า Food Coma หรือ Crab Coma เนื่องจากเป็นระบบการทำงานของร่างกาย – หลังจากทานอาหารมื้อใหญ่เข้าไป สมองจะสั่งร่างกายให้ใช้พลังงานในการย่อยอาหารมากขึ้น และเหลือพลังงานให้ส่วนอื่นน้อยลง – หากเราทานพวกแป้ง และน้ำตาล เช่น ข้าว เข้าไปในปริมาณที่มาก ร่างกายก็จะแปรเปลี่ยนเป็นคาร์ไบไฮเดรต กลูโคส และซูโครส ทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง แล้วหลั่งตัวฮอร์โมนที่ชื่อ “อินซูลิน” ออกมารักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ แต่อินซูลินก็มีสารเซโรโทนินและเมลาโทนินผลิตออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งสองชนิดนี้แหละที่ทำให้เราง๊วงง่วง ถ้านอนตอนกลางวันไม่ได้ ก็แก้ได้ด้วยวิธีเหล่านี้ – เคี้ยวข้าวให้ช้าลง และกินข้าวให้พอดีคำ เพราะจะช่วยให้กระเพาะย่อยได้ง่าย ไม่ทำงานหนักเกินไปจนดึงพลังงานมาใช้เยอะ – ลดการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แป้ง และน้ำตาล หันมาทานโปรตีน โดยกะในปริมาณที่เหมาะสม หรืออาจจะหลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มหรืออาหารหวานจัด – หากิจกรรมอื่นๆ ทำหลังการทานมื้อกลางวัน เช่น การลุกขึ้นเดิน ไม่นั่งอยู่กับที่ – ดื่มกาแฟดำหลังจากทานอาหารประมาณ
มีหลายงานวิจัยในต่างประเทศที่สนับสนุนว่า การงีบหลับตอนกลางวันนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อคนทำงาน เพราะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คิดงานได้ลื่นไหล แถมยังเติมพลังงานให้ร่างกายอีกด้วย และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องขำๆ เพราะในบางประเทศนั้น เค้าอนุญาตให้งีบหลับช่วงกลางวันได้อีกด้วยนะจ้า เช่น กรีซ บราซิล แม็กซิโก และญี่ปุ่น ฯลฯ งีบหลับนะ ไม่ใช่นอนหลับ ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Napping ไม่ใช่ Sleeping เพราะฉะนั้นหากแปลเป็นไทย จะหมายถึงการงีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่นอนหลับไปเลยนะจ๊ะทุกคน ซึ่งเวลาที่บอกว่าเหมาะสมคือช่วง 13:00 – 15:00 น. และแนะนำว่า ควรงีบไม่เกิน 30 นาที และไม่ควรเกินกว่า 90 นาที เช่น เรารู้สึกง่วงตอน 13:00 แปลว่าเรางีบได้ถึงประมาณ 13:30 ซึ่งเรื่องนี้ทางองค์การนาร์ซ่าเองก็เคยทำกับนักบินอวกาศมาแล้ว โดยให้งีบกลางวันได้ 40 นาที ก็พบว่า มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่ม 34% และทำให้ตื่นตัวมากถึง 100% เหตุผลคือ การงีบช่วงเวลากลางวันนั้น มีผลต่อสมองแน่นอน แต่เป็นผลที่ดี เหมือนเป็นการชาร์จพลังให้ร่างกาย หลังงีบจึงรู้สึกตื่นและสดชื่นขึ้น