ศัลยกรรมพลิกชีวิต
ลดเสี่ยง “มะเร็งเต้านม” กับเรื่องของเต้าที่ควรรู้
โรคมะเร็งเต้านม (breast cancer) มีเปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงจะเป็นได้มากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า เกิดจากเซลล์เต้านมที่มีการแบ่งตัวผิดปกตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังกระจายตัวไปตามท่อน้ำนม และต่อมน้ำเหลืองรักแร้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ในวงการแพทย์เองก็ยังไม่ฟันธง 100% ถึงสาเหตุของ “มะเร็งเต้านม” ที่แท้จริง มีเพียงปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ได้
ปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้
- สาเหตุมาจากพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดผ่านยีน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็น 100% เพราะฉะนั้นถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม แนะนำให้ดูแลตัวเองในการลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้เข้มงวดขึ้น เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ
- ความผิดปกติของฮอร์โมนเป็นเรื่องที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น การทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมมีผลต่อฮอร์โมนของผู้หญิง หากทานเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน 5 ปี รวมถึงผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว หรือประจำเดือนหมดช้า ก็ล้วนแต่มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- ผู้หญิงในวัย 30 ปีขึ้นไป ที่ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์มากก่อน จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ในอายุที่น้อยกว่า
- อายุเพิ่มก็เสี่ยงเพิ่ม
- พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เคยออกกำลังกาย มีภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน และชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
ตรวจก่อน ลดเสี่ยงก่อน อายุเท่าไรจึงควรใส่ใจเรื่องนี้
วิธีการตรวจนั้นจะแบ่งเป็น 3 วิธี คือการตรวจด้วยตัวเอง การตรวจเต้านมด้วย MRI หรือภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจด้วยแมมโมแกรม ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า
- อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจเองได้ทุกหนึ่งเดือน คือวิธีการคลำหน้าอก เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้ออะไรผิดปกติหรือไม่
- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป (ในรายที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงอื่นๆ) ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- แต่ในรายที่มีความเสี่ยงอื่นๆ เช่น พันธุกรรม ทานยาคุมกำเนิด ผ่านการทำศัลยกรรมหน้าอกมานาน ฯลฯ ก็ควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป ด้วยวิธี MRI หรือแมมโมแกรมตามคำแนะนำของแพทย์
หากมีอาการคลำแล้วเจอก้อนแปลกๆ หน้าอกบวมตึง รูขุมขนใหญ่ มีผิวลักษณะเปลือกส้ม หรือผิวโดยรอบมีแผลนูนแตกออกมาที่ผิว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ด่วน
Credit Source: chulacancer และ med.mahidol.ac.th
ABOUT THE AUTHOR Beauty See First administrator