How toหูตึง อาการที่ควรระวังจากการใส่หูฟังนานเกินไป

หูตึง อาการที่ควรระวังจากการใส่หูฟังนานเกินไป

หูตึง อาการที่ควรระวังจากการใส่หูฟังนานเกินไป

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกที่พบว่า ประชากรช่วงวัยหนุ่มสาวเกือบ 1 พันล้านคนมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งเป็นผลมาจากการฟังหูฟังเสียงดังเกิน

แต่ดังระดับเท่าไหนถึงจะถือว่าปลอดภัย วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมดูวิธีการกำหนดค่าเลเวลความดังได้ง่ายแค่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

มาดูเลเวลที่เหมาะสมของการใช้หูฟังกันดีกว่า

เด็ก: ไม่ควรฟังเกิน 75 เดซิเบลเอ เฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวันหรือประมาณ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ผู้ใหญ่: แนะนำให้ฟังไม่เกิน 80 เดซิเบลเอ เฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวันหรือประมาณ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เช่นกัน

แต่ถ้าหากฟังเสียงดังเกินกว่านั้น ก็ควรจะลดเวลาในการฟังให้น้อยลงมากๆ เช่น การฟังเสียงเกิน 100 เดซิเบลเอ ไม่ควรเกิน 15 นาที เป็นต้น

แล้วอาการเป็นอย่างไรถึงจะรู้ว่าเราเสี่ยงต่อการหูตึง

ทางเวบไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า อาการของผู้ที่เสี่ยงต่อการได้ยินบกพร่องนั้นจะไม่รู้สึกผิดปกติในตอนแรก แต่จะเริ่มสังเกตได้ทีละนิด ซึ่งอาจจะต้องมั่นสังเกตตัวเอง และไม่ควรปล่อยความผิดปกติไว้นาน เพราะจะรักษายากหรืออาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิม

การปรับระดับความดังในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ช่วยได้

เป็นวิธีที่ง่ายและทำได้ตลอดเวลา เพราะหนุ่มสาวยุคนี้คงจะหนีไม่พ้นการฟังหูฟังกับมือถือหรือแล็ปท็อป ปกติทั้งระบบ iOS (ติดตั้ง iOS 14 เรียบร้อย) และ Andriod ก็ถูกพัฒนาให้สามารถบอกแถบสีระดับเสียงเป็นหน่วยเดซิเบลที่เหมาะสมขณะฟังหูฟังได้แล้ว โดยไม่ต้องลงแอปพลิเคชั่น ซึ่งสะดวกมากๆ

วิธีการตั้งค่าเพื่อบอกระดับเสียงเดซิเบลบนมือถือ

เครื่องที่อัพเดต iOS 14 เรียบร้อย

ไปที่ การตั้งค่า > ศูนย์ควบคุม > เลือก “การรับฟัง” โดยกดสัญลักษณ์ + มาแสดงที่ Control Center แค่นี้ก็จะเห็นแทบบอกระดับเสียงแล้วล่ะ

สำหรับแอนดรอยด์

จะติดมากับตัวเครื่องเรียบร้อย เพียงแค่ใส่หูฟังเท่านั้น ก็สามารถเห็นแทบบอกระดับเสียงขณะกดเพิ่มหรือลดเสียง

ทั้งสองระบบ หากกดแล้วยังเป็นแถบเขียวแสดงว่ายังเหมาะสม แต่ถ้าหากเป็นแถบเหลือง ฟังได้แต่ควรลดเวลาการฟังให้สั้นลง

ส่วนใครที่ยังไม่มีการบอกระดับติดมากับมือถือหรือแล็ปท็อปก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้เช่นกันจ้า

Credit Source: bumrungrad, iphonemod, macdailynews

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article