How toเคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ - Beauty See First

เคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ – Beauty See First

เคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ

30 ไอเดียจัดโต๊ะเครื่องแป้งให้เป๊ะ เป็นระเบียบ น่าหยิบใช้ – AKERU

ใกล้จะหมดปี 2019 แล้ว สิ่งไหนไม่ดีก็ปล่อยทิ้งไป สิ่งไหนดีๆก็พกเอาไปด้วยในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนะคะ โดยเฉพาะเครื่องสำอางก็เช่นกัน วันนี้เราเลยถือโอกาสสิ้นปีทั้งที ขอชวนสาวๆมาเช็คกรุเครื่องสำอางของคุณว่าชิ้นไหนบ้างที่จะได้ไปต่อ โดยทั่วไปแล้ว เครื่องสำอางแต่ละชิ้นมีอายุการใช้งาน

  • คอนซีลเลอร์และรองพื้น : 6 เดือนถึง 1 ปี / เมื่อส่วนผสมแยกชั้นกัน
  • ครีมกันแดด : 6 เดือน
  • บลัชออน อายแชโดว์ บรอนเซอร์ แป้งอัดแข็ง : 1-2 ปี
  • ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา : 1 ปี
  • อายไลน์เนอร์ : 3-4 เดือน
  • มาสคาร่า : 3 เดือน
  • ผลิตภัณฑ์จำพวกลิปสติก : 1 ปี
  • ยาทาเล็บ 1-2 ปี
  • น้ำหอม : 8-10 ปี

ข้อสังเกตที่ 1 Texture ของผลิตภัณฑ์

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

“แห้งอยู่นานกว่าเปียก” วิธีที่ง่ายๆ ที่คุณสามารถใช้สังเกตอายุการใช้งานของเครื่องสำอางแต่ละชิ้นของคุณคือ สังเกตจากเนื้อผลิตภัณฑ์ โดยเครื่องสำอางชิ้นนั้นมีพื้นส่วนผสมแบบแป้ง (Powder-based makeup) เช่น แป้งอัดแข็ง บลัชออนแบบฝุ่น บรอนเซอร์แบบฝุ่น มักจะมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์แบบอื่น อย่างพวก ครีม เจล หรือสติ๊ก เพราะแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการหมดอายุนั้นเติบโตได้ดีในความชื้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์จำพวกเนื้อแป้งที่มีความแห้งมากกว่าจึงมีแนวโน้มที่จะมีอายุการใช้งานมากกว่า

ข้อสังเกตที่ 2 บริเวณผิวที่ใช้กับผลิตภัณฑ์

ครีมหน้าขาว รู้เท่าทันสารอันตรายก่อนหน้าพัง - พบแพทย์

“ยิ่งใช้ใกล้ดวงตาเท่าไหร่ยิ่งเสียง่าย” เพราะบริเวณดวงตาของคุณมีความบอบบางมากกว่าบริเวณอื่นๆบนใบหน้า ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับพื้นผิวบริเวณนี้จึงมีความเซนซิทีฟมากกว่า และควรเปลี่ยนบ่อยกว่า เพื่อป้องกันแบคทีเรียให้ออกห่างจากดวงตาของคุณ ดังนั้นผลิตภัณฑ์จำพวก อายแชโดว์ อายไลน์เนอร์ และมาสคาร่า จึงมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ข้อสังเกตที่ 3 สัญญาลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์

ถอดรหัส สัญลักษณ์บนเครื่องสำอาง - คืออะไร มีความหมายอย่างไร

การอ่านฉลากเป็นสิ่งที่ควรทำให้ติดเป็นนิสัย เพราะนอกจากคุณจะรู้ส่วนผสมที่ใช้ในเครื่องสำอางแล้ว คุณยังรู้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนมันเมื่อไหร่ โดยจุดสังเกตุวันหมดอายุของเครื่องสำอางง่ายๆที่หลายคนอาจไม่รู้คือสัญลักษณ์ “shelf life sign” หรือ “Expiration Date After Product Opening” ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ ที่มีลักษณ์เป็นรูป “กล่องเปิดฝา” ที่มีตัวเลขเขียนกำหนดไว้ เช่น 1M, 3M, 12M หรือ 24M โดยหน่วย “M” มาจาก “Month” ที่แปลว่าเดือน ดังนั้นการอ่านสัญลักษณ์นี้คือ “เมื่อคุณเปิดใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์จะมีอายุการใช้งานอยู่ได้…เดือน” ตามเลขที่เขียนกำกับไว้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article