How toแอโรบิกส์ vs โยคะ ควรเลือกแบบไหนออกกำลังกายช่วงอยู่บ้านดีนะ - Beauty See First

แอโรบิกส์ vs โยคะ ควรเลือกแบบไหนออกกำลังกายช่วงอยู่บ้านดีนะ – Beauty See First

แอโรบิกส์ vs โยคะ ควรเลือกแบบไหนออกกำลังกายช่วงอยู่บ้านดีนะ

ออกกำลังกายแบบ “แอโรบิค” และ “แอนแอโรบิค” ต่างกันอย่างไร?

หนึ่งในการกิจกรรมยอดฮิตของสาวไทยเพื่อเสริมสร้างสุขภาพเห็นจะเป็นแอโรบิกส์ และโยคะ แถมยังสามารถฝึกได้เองที่บ้าน โดยไม่ต้องยุ่งยากเรื่องอุปกรณ์ แค่เปิดคลิปแล้วทำตามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ได้ แต่แบบไหนจะเหมาะกับเราไปดูความต่างความเหมือนระหว่างแอโรบิกส์ และโยคะกัน

การเล่นโยคะเพื่อสุขภาพ (Yoga) - iHealzy Thailand (ประเทศไทย)

ต้นกำเนิดเราต่างกัน

แอโรบิกส์

ถือกำเนิดและถูกขนานนามตั้งแต่ปี 1968 โดยนายแพทย์ เคนเน็ธ คูเปอร์ ของสหรัฐอเมริกา และได้ให้ความหมายของคำว่า แอโรบิกส์ว่า เป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและปอดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจึงมีการปรับให้ทันสมัยโดยการทำให้เข้ากับจังหวะดนตรี จนเป็นการเต้นแอโรบิกจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แอโรบิกส์ยังเผยแพร่ผ่านทางหนังสือเล่มต่างๆ จึงขึ้นแท่นวิธีการออกกำลังกายที่นิยมมากในอเมริกา ก่อนจะเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

โยคะ

ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอินเดียสมัยโบราณนานกว่าหลายพันปี และความรู้ด้านโยคะก็ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นวัฒนธรรม ในวงการโยคะจะรู้จักบุคคลสำคัญที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐานคือ ปตัญชลี นักปราชญ์ชาวฮินดู ซึ่งตามหลักการเราจะฝึกท่าโยคะโดยการค้างท่านั้นๆ ไว้ระยะหนึ่ง ปัจจุบันท่าโยคะเองมีมากมาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์การฝึกที่ชัดเจน รวมถึงถูกเผยแพร่การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ไปทั่วโลก ไม่ได้มีเพียงแค่ในอินเดียเท่านั้น

ออกมาเต้นกันเถอะ! 7 ข้อดีของการเต้นแอโรบิค ที่สายเฮลตี้ต้องรู้

ผลลัพธ์การออกกำลังกายที่ต่างกัน

แอโรบิกส์

ด้วยลักษณะการออกกำลังกายที่ต้องออกท่าทางตามจังหวะเพลง จึงเน้นเรื่องการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และยังทำให้เลือดสูบฉีดได้ดีจากจังหวะการเต้นที่สลับไปมาตั้งแต่การวอร์มร่างกาย ซึ่งเราจะหายใจช้า จนไปถึงท่าเต้นที่เร่งจังหวะการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แล้วกลับมาท่าวอร์ม พร้อมค่อยๆ ผ่อนการหายใจลง แต่ยังคงความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังเป็นการเผาผลาญไขมันได้ดีอีกด้วย

โยคะ

หนึ่งในการออกกำลังกายที่เรียกเหงื่อแบบซึมๆ ได้ดีมาก เพราะเราต้องใช้พละกำลังในการทรงตัวให้อยู่ในท่าที่สมดุล จึงทำให้กล้ามเนื้อได้ยืดตัว และผ่อนคลาย หากฝึกเป็นประจำจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการบาดเจ็บจากการอุบัติเหตุการกระแทกได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสมาธิ และพัฒนาอารมณ์ รวมถึงจิตใจ ภาวะความเครียดจึงลดลง

เหมาะกับใคร

แอโรบิกส์ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อต่างๆ และชอบท่าทางที่เข้ากับจังหวะเสียงเพลง

โยคะ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย เพียงแต่ต้องจัดท่าทางโยคะอย่างถูกต้องและเหมาะสม พร้อมจังหวะเสียงเพลงคลอเบาๆ

ถ้าสามารถออกได้ทั้ง 2 แบบควรเลือกแบบไหนวันไหนดี

แอโรบิกส์ แนะนำให้ฝึกในช่วงที่เราต้องการลดน้ำหนัก และอยากสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

โยคะ จัดในวันที่รู้สึกเครียดๆ อยากผ่อนคลายหรืออยากยืดกล้ามเนื้อในวันล้าๆ

อุปกรณ์เตรียมพร้อม

แอโรบิกส์ มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ รองเท้า ซึ่งจะต้องเป็นรองเท้าผ้าใบที่เหมาะกับการรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวตามจังหวะท่าทาง และตรงส่วนบนของหุ้มส้น ควรมีแผ่นรองนุ่มบริเวณเอ็นร้อยหวาย เพื่อป้องกันการบางเจ็บตรงช่วงเอ็นข้อเท้า รวมถึงพื้นรองเท้าควรยึดเกาะพื้นได้ดี

โยคะ อุปกรณ์ที่สำคัญที่เราแนะนำให้ควรมีคือ เสื่อโยคะเพื่อเป็นเบาะรองสำหรับฝึกโยคะ ลดความเจ็บปวดในการกดทับของน้ำหนักกับพื้น โดยเฉพาะคนที่ต้องฝึกบนพื้นปูนและพื้นไม้ และควรเลือกแบบไม่ลื่นเกินไป หรือมันเกิน เพราะจะทำให้ทรงตัวยาก และผิดท่าได้ รวมถึงความยาวควรจะยาวให้พอกับร่างกายผู้ฝึกเมื่อฝึกในท่านอน ซึ่งเสื่อโยคะสามารถหาซื้อได้ง่ายที่ห้างสรรพสินค้าหรือทางออนไลน์

การหายใจที่ต่างกัน

แอโรบิกส์ ระบบหายใจจะต้องเร็วและแรงมากขึ้นตามจังหวะเพลง โดยให้เริ่มจากการวอร์มร่างกาย หายใจช้าๆ แล้วค่อยเร่งจังหวะการหายใจให้เร็วขึ้น เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น เพื่อได้นำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย พอที่จะทำให้เกิดการสูบฉีดของเลือดมากขึ้น ทั้งนี้เราควรจะประเมินตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ควรหักโหมมากเกินไป เพราะอาจจะหายใจไม่ทันได้นะจ้า

โยคะ การหายใจถือเป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการฝึกโยคะ ซึ่งจะเรียกการหายใจนี้ว่า อุชชายี คือการหายใจเข้าจมูกอย่างช้าๆ โดยหายใจให้เท่าๆ กันทุกครั้ง พอหายใจเข้าควรจะหายใจเท่ากับการเต้นของหัวใจ 4-5 ครั้ง แล้วหายใจออกในระยะเวลาที่เท่ากัน นอกจากนี้การหายใจเข้าจะเหมาะกับท่ายืนและหายใจออกจะเหมาะกับจังหวะที่ใช้การย่อตัวหรือผ่อนร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article