Uncategorizedโรคตึกเป็นพิษ ใครจะไปรู้ทำงานในตึกก็เสี่ยงเป็นโรคได้ เพราะอะไร?

โรคตึกเป็นพิษ ใครจะไปรู้ทำงานในตึกก็เสี่ยงเป็นโรคได้ เพราะอะไร?

e0b982e0b8a3e0b884e0b895e0b8b6e0b881e0b980e0b89be0b987e0b899e0b89ee0b8b4e0b8a9-newlogo-web-n-6587599

โรคตึกเป็นพิษ หรือ SBS (Sick Building Syndrome) เป็นเรื่องของการตอบสนองของร่างกายจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในอาคารหรือพื้นที่ปิด ไม่มีสาเหตุแน่นอนว่าเกิดจากอะไรกันแน่

สาเหตุของการเกิดโรคตึกเป็นพิษ

สาเหตุไม่สามารถระบุได้ชัดเจน บางคนอาจมีสาเหตุมาจากอากาศในอาคาร วัสดุที่ใช้ประกอบอาคาร เสียงรบกวน ไฟฟ้า ความร้อนความชื้น แบคทีเรีย ความเครียด ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มูลแมลงหรือสัตว์ จากพวกเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ก็เป็นไปได้หมด พูดง่ายๆ สาเหตุก็อยู่ล้อมรอบภายในห้องปิดหรือพื้นที่นั้นๆ

ทั้งนี้ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาความเชื่อมโยงและวิเคราะห์ สังเกต จดบันทึกอาการตัวเองเบื้องต้นว่าเราจะเกิดอาการเฉพาะเวลาที่อยู่ในอาคาร และชอบเป็นซ้ำๆ แบบนี้หรือไม่

อาการเบื้องต้นของโรคตึกเป็นพิษ

อาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรืออาจจะเกิดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเข้าไปในตัวอาคาร โดยเฉพาะจะยิ่งทวีคูณขึ้นเหมือนอยู่เป็นระยะเวลานาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเราออกจากโซนหรืออาคารนั้น เช่น

  • คล้ายอาการหวัด คือปวดหัว หนาว เป็นไข้ จาม ในบางคนจะมีน้ำมูกไหล หรือคลื่นไส้ได้
  • รู้สึกแสบร้อนในจมูก เจ็บคอ แน่นหน้าอก
  • ร่างกายเหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด หลงลืม
  • ผิวแห้ง คัน หรืออาจมีผื่น
  • เวลาหายใจอาจมีเสียงหวีดคล้ายคนเป็นภูมิแพ้

นอกจากนี้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ และหอบหืดมาก่อนก็จะสังเกตว่าอาการของโรคมันจะเกิดมากขึ้นกว่าเดิม

การป้องกันโรคหรือลดอาการเบื้องต้น

สำหรับคนที่มีอาการคล้ายหวัดหรือภูมิแพ้ สามารถทานยาลดอาการเหล่านั้นได้ แต่แน่นอนว่าจะให้อาการดีขึ้นได้หรือป้องกันก่อนที่จะเกิด ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างในสถานที่ทำงานหรืออาคารนั้นๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องอยู่สม่ำเสมอ เช่น

  • การเปิดหน้าต่าง หรือมีตัวกรองอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ทำความสะอาดพื้นที่ให้สะอาด
  • รักษาระดับความชื้นที่เหมาะสมให้อยู่ที่ 40 – 70%
  • ควรใช้ไฟที่สว่างเพียงพอ และพลังงานน้อย
  • สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีจะได้ไม่เครียด
  • ถ้าหากอยู่ในห้องปรับอากาศ พยายามให้อุณหภูมิอยู่คงที่ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
  • สุดท้ายออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์บ้างในช่วงพักเวลางาน

ทั้งนี้หากเรามีอาการเมื่อเข้าไปในอาคารใดอาคารหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะแพ้ตัวตึกหรือสำนักงานอื่นๆ ไปหมดทุกสถานที่  เพราะอย่างที่บอกว่า สาเหตุที่เกิดขึ้นมันอาจจะวิเคราะห์ยาก และขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ด้วย

Source: healthline, nhs.uk

Source: Photo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article