ผักผลไม้ 5 สี ทานให้ครบ ช่วยต้านโรคได้
ถ้าพูดถึงการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพแล้วล่ะก็ ไม่มีทางที่เราจะไม่พูดถึงการรับประทานผักและผลไม้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุและกากใยอาหารที่ดีต่อร่างกาย แต่นอกจากประโยชน์ที่พูดว่าแล้วในผักและผลไม้ยังมี “สารต้านอนุมูลอิสระ” ที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านการเสื่อมสภาพของเซลล์และป้องกันสารพัดโรคร้ายได้อีกด้วย ซึ่งในผักและผลไม้แต่ละสีก็มีสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราก็ได้รวบรวมมาไว้ให้แล้วว่าในแต่ละสีช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง!
- มีสารแซนโทน (Xanthone) กรดไซแนปติก (Synaptic acid) และ อัลลิซิน (Allicin) ลดอาการปวดข้อเข่า ลดคลอเรสเตอรอล ลดความดัน รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร
- กระเทียม ถั่วงอก หอมหัวใหญ่ หัวไชเท้า ผักกาดขาว สาลี่ เงาะ
สีแดง
- มีสารไลโคปีน (Lycopene) และ เบตาไซซีน (Betacycin) ที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินอีถึง 100 เท่า และมากกว่ากลูตาไธโอนถึง 125 เท่า ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ชะลอความเสื่อมของดวงตา
- มะเขือเทศ พริกหวาน พริกชี้ฟ้า แตงโม สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่นแดง
สีส้ม / เหลือง
- มีสารลูทีน (Lutein) และ เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) ช่วยฆ่าเชื้อ ป้องกันไวรัส ต้านการอักเสบ บำรุงหัวใจ หลอดเลือด บำรุงสายตา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- แครอต ฟักทอง มันเทศ ส้ม มะละกอ เสาวรส สับปะรด ข้าวโพด
สีเขียว
- มีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ลดการเสื่อมของจอประสาทตา เสริมกระดูกและฟัน ช่วยระบบขับถ่าย อีกทั้งยังป้องกันมะเร็ง ช่วยในการสร้างอินซูลิน และช่วยลดคอเรสเตอรอล
- ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักคะน้า แตงกวา ตำลึง แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง
สีม่วง
- มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยยับยั้งเชื้ออาการท้องเสีย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต และยังช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ด้วย
- หอมแดง กะหล่ำสีม่วง มะเขือม่วง ดอกอัญชัน ลูกหว้า บลูเบอร์รี่
TIPS :
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้รับประทานผักผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม แต่เราจะกะสัดส่วนของผักในแต่ละมื้ออาหารให้เป๊ะๆ ก็คงอยาก แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถกะปริมาณอาหารสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักด้วยมือได้ ถ้าอยากรู้ว่ากะได้อย่างไร สามารถตามไปอ่านต่อได้ที่ CLICK
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , โรงพยาบาลเปาโล และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล