How toWORK FROM HOME SYNDROME อาการของคนนั่งแช่ นอนแช่ ที่ต้องเริ่มแก้ตั้งแต่เก้าอี้ที่บ้าน - Beauty See First

WORK FROM HOME SYNDROME อาการของคนนั่งแช่ นอนแช่ ที่ต้องเริ่มแก้ตั้งแต่เก้าอี้ที่บ้าน – Beauty See First

WORK FROM HOME SYNDROME อาการของคนนั่งแช่ นอนแช่ ที่ต้องเริ่มแก้ตั้งแต่เก้าอี้ที่บ้าน

Preventing Office Syndrome while working from home | Bangkok Hospital

เรียกว่าผ่านมาหลายสัปดาห์แล้วสินะคะ ที่ชาวเราเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสาวออฟฟิศมา Work From Home Syndrome กันอย่างเต็มตัว จะว่าดีมันก็ดีนะ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องเจอรถติด แถมไม่ต้องตื่นเช้าเท่าปกติด้วย แต่ไม่รู้ทำไม ทั้งๆที่ก็ได้ทำงานชิลๆสบายๆอยู่ที่บ้าน แต่เจ้าอาการปวดหลัง ปวดบ่านี่ก็ยังตามมาหลอกหลอนอยู่ล่ะ? Beauty See First ขออยากขอชวนสาวๆมาเช็คพฤติกรรมกันหน่อยว่าอะไรที่ทำให้ Office Syndrome กลายมาเป็น Work From Home Syndrome อยู่แบบนี้

อยู่บ้านทั้งที ขอทำงานบนเตียงแล้วกัน

ถึงเราจะ Work From Home แต่เราไม่ควร Work From Bed ค่ะ ถึงแม้ว่าเจ้าที่นอนนุ่มนิ่มจะฟังดูนั่งสบาย ไม่น่ามีปัญหา แต่ท่าทางของเราเวลาทำงานบนเตียงนั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพหลังของเราเลย เพราะไม่ว่าสาวๆจะเอาคอมวางไว้บนเตียง แล้วนั่งขัดสมาธิ เราก็จำเป็นต้องก้มหน้าทำงาน หลังของเราก็จะอยู่ในท่าค่อมหลัง ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้กับกระดูกสันหลังอย่ามาก หรือถ้าเราอยู่ในท่าเอนตัวอิงหัวเตียงเป็นเวลานานๆ กระดูกสันหลังส่วนล่างก็จะถูกกดน้ำหนักทำให้เจ็บหลังได้ง่ายๆ

ฉันจะอยู่ตรงนี้ตลอดไป ไปขยับไปไหนทั้งนั้น

การทำงานที่บ้านอาจสร้างนิสัยไม่ดีอย่างหนึ่งให้กับเรานั่นก็คือ การทำงานไม่เป็นเวลา เพราะความคิดที่ว่า “ก็อยู่บ้านอยู่แล้ว ไม่ได้เหนื่อยอะไรสักหน่อย ขอทำงานต่ออีกนิดแล้วกัน” แล้วเอาแต่นั่งทำงานโดยไม่ขยับตัวหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ้างก็อาจทำให้ร่างกายของเราเกิดความเมื่อยขบ อ่อนล้า และตึงเครียดได้ยิ่งกว่าตอนทำงานที่ออฟฟิศเสียอีก ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคนที่ทำงานเพลินจนลืมเวลากินข้าว กินน้ำนะ แบบนั้นไม่ดีเลยค่ะ

อันตรายจากแสงสีฟ้าในจอคอมพ์ | โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา

จ้องแต่จอทั้งวันทั้งคืน

อีกปัญหาที่จะตามมาเมื่อสาวๆไม่จัดสรรเวลาทำงานให้ดี สิ่งที่พ่วงมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการใช้สายตาอย่างหนักหน่วงด้วยการจ้องจอคออมพิวเตอร์หรือจอมือถือเป็นเวลานานๆ ซึ่งส่งผลให้สายตาของเราอ่อนล้า บางครั้งอาจถึงขั้นพร่าเลือนได้ถ้าไม่หยุดพักสายตาบ้าง และยิ่งสำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้นล่ะก็ อาจจะส่งผลให้ค่าสายตายิ่งแย่ลงไปกว่าเดิมอีกนะ

ดังนั้นเราขอรวบรวม เช็คลิสต์ง่ายๆของสิ่งที่ควรทำ เพื่อป้องกันอาการ Work From Home Syndrome

1. จัดหาพื้นที่ทำงานที่เป็นสัดส่วน เหมาะสม

เปลี่ยนจากทำบนเตียงมาทำบนโต๊ะและเก้าอี้อย่างเป็นกิจลักษณะ โดยเลือกขนาด รูปร่าง ของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระร่างกาย ปรับความสูงให้พอดี นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น เมื่อนั่งแล้วให้หลังของเราตั้งตรง และสามารถวางเท้าเต็มเท้าขนานกับพื้น หรือจะใช้หมอนหนุนหลังเสริมด้วยก็ได้

2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้จออยู่ในระดับสายตา

คือกึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตาพอดี เวลาพิมพ์งาน หลังและข้อมือของเราจะได้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ไม่เกิดอาการปวดเมื่อย

3. จัดสรรเวลาพักและเวลาทำงาน

แบ่งเวลาสำหรับทำงานและพักให้ชัดเจน ไม่ควรโหมทำงานจนไม่มีเวลาพัก หรือใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นๆจนไม่ได้ทำงาน ควรจัดเวลาให้ดี แบ่งช่วงพักทานข้าวให้ตรงเวลา เพื่อเต็มพลังให้สดชื่น

4. พักสายตาบ่อยๆ ทุก 45 นาที

ไม่ควรนั่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ ทุก 45 นาทีควรพักผ่อน เปลี่ยนอริยาบท ลุคขึ้นเดินบ้าง พักเข้าห้องน้ำ เดินไปดื่มน้ำ และควรมองออกไปนอกบ้านดูธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อสายตา

5. ยืดร่างกายและบริหารร่างกายอย่างง่ายๆ ป้องกันกล้ามเนื้อยึด

ควรบริหารร่างกายให้สม่ำเสมอ ด้วยท่าง่ายๆ อย่างเช่น

  • เหยียดมือทั้งสองข้างประสานกันไปด้านหน้า
  • เหยียดมือสองข้างประสานกันขึ้นเหนือศีรษะ
  • บีบนวดคอ ยืดกล้ามเนื้อคอโดยเอียงไปทางซ้ายและขวาให้รู้สึกตึง
  • ก้มหน้าเงยหน้าให้รู้สึกตึงบริเวณคอ
  • ก้มแตะปลายเท้า

ซึ่งการการยืดและคลายกล้ามเนื้อในท่าต่างๆนั้นควรทำช้าๆ และค้างไว้ 10 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดตัว ถ้าก้มเร็วๆ หรือกระแทกแรงๆ จะทำกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article