How toปวดหัวตรงไหน เกิดจากอะไร มาหาคำตอบกัน!

ปวดหัวตรงไหน เกิดจากอะไร มาหาคำตอบกัน!

ปวดหัวตรงไหน เกิดจากอะไร

ปวดหัวตรงไหน เกิดจากอะไร มาหาคำตอบกัน!

ชีวิตชาวออฟฟิศอย่างเราๆ เรื่องอาการปวดหัวนี่เป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ยากมากๆ แต่เคยจับสังเกตอาการตัวเองบ้างหรือเปล่า ถึงจะปวดหัวเหมือนกัน แต่ที่จริงแล้วบริเวณที่ปวดต่างกันนั้นแสดงถึงสาเหตุของอาการที่ต่างกันไปด้วยนะ ซึ่งยิ่งเรารู้สาเหตุเร็วเท่าไหร่ก็ทำให้การรักษาและบรรเทาอาการตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น รู้แบบนี้แล้วมาเช็คไปพร้อมๆ กันเลยเถอะ!

จะเรียกว่าเป็นสาเหตุและอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุดเลยก็ได้ โดยอาการปวดศีรษะในลักษณะนี้จะมีสาเหตุมาจากการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ โดยมีจุดสังเกตตำแหน่งปวดก็คือ บริเวณหน้าผาก ขมับทั้งสองข้าง และในบางกรณียังปวดร้าวมาถึงด้านหลังของศีรษะแถวท้ายทอยไปถึงบ่าไหล่อีกด้วย

ปวดหัวเพราะไมเกรน ปวดข้างเดียว ที่กระบอกตา ขมับ

การปวดหัวจากไมเกรน เราจะปวดบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่ง ในบางคนอาจจะปวดสลับข้างไปมาก็ได้ นอกจากนี้เวลาปวดยังอาจร้าวเข้ามาถึงกระบอกตา หรือในรายที่เป็นหนักๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะร่วมด้วย และขณะที่มีอาการปวดให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงสว้างจ้า เสียงดัง หรือสถานที่ที่มีกลิ่นฉุน เพราะจะทำให้อาการแย่ลงได้

ปวดหัวเพราะไซนัส ปวดที่โหนกแก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก

จุดสังเกตของอาการปวดหัวจากไซนัส คือ เราจะรู้สึกปวดบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง และบริเวณดั้งจมูกซึ่งเป็นตำแหน่งของไซนัส ในบางครั้งอาจจะปวดแถวหน้าผากร่วมด้วย

ปวดหัวเพราะนอนกัดฟัน ปวดที่หน้าใบหู กราม ปวดเวลาเคี้ยว

หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ตัว ว่าตัวเองมีอาการกัดฟันเวลานอนหลับ ซึ่งทำให้บางครั้งในตอนเช้าเราตื่นมาแล้วรู้สึกปวดบริเวณหน้าใบหู กราม และอาจรู้สึกปวดเวลาเคี้ยวอาหารด้วย

ปวดหัวแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตราย?

นอกจากอาการปวดข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาการปวดหัวที่รุนแรงกว่าปกติยังสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเนื้องอกสมอง ซึ่งสังเกตได้จากอาการปวดที่จะรุนแรงกว่าการปวดหัวธรรมดาๆ มาก ทั้งยังอาจปรากฏอาการร่วมกับการมองเห็นที่ผิดปกติ เช่น เห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด มีการชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ไปจนถึงอาการชัก ซึ่งเราขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร่งด่วนเลยนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article