ทำไมดื่มกาแฟ แล้วถึงยังง่วง?
ตื่นเช้ามาอยากกระตุ้นตัวเองหน่อยก็ดื่มกาแฟ บ่ายแก่เริ่มง่วงอีกแล้วก็ดื่มกาแฟ หลายคนดื่มกาแฟทุกวันเป็นกิจวัตร หรือดื่มวันละหลายๆแก้ว แต่หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่มีมาเสมอก็คือ “ดื่มกาแฟช่วยให้หายง่วงได้จริงหรือ?” วันนี้ Beauty See First จะข้อมาไขข้อข้องใจนี้และพาทุกคนไปรู้จักกับข้อควรรู้เกี่ยวกับกาแฟ!
ดื่มแล้วกาแฟช่วยให้ตื่นตัว?
การดื่มกาแฟ 2-4 แก้วต่อวัน* ช่วยให้รู้สึกตื่นตัวได้จริงๆ เพราะคาเฟอีนในกาแฟจะเข้าไปปิดกั้นการทำงานของสาร Adenosine ตัวการที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณของสารสื่อประสาทชนิดอื่น เช่น Dopamine และ Norepinephrine เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการส่งข้อมูลของเซลล์ประสาทภายในสมองเพิ่มมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง
* 2-4 แก้วในที่นี้เทียบเป็นปริมาณคาเฟอีนราว 400 มิลลิกรัม แต่ชนิดของกาแฟที่ต่างกันก็ให้ปริมาณคาเฟอีนที่ต่างกันไปด้วย
แล้วทำไมฉันดื่มกาแฟแล้วถึงง่วง?
ปัจจัยที่ส่งผลให้ดื่มกาแฟแล้วยังง่วงนอนได้เกิดจาก การที่เราดื่มกาแฟปริมาณมากๆ จนเป็นปกติ นานวันเข้าร่างกายของเราเริ่มคุ้นชินกับปริมาณคาเฟอีนที่จะได้รับ ทำให้สมองสั่งให้ผลิตตัวรับ เพื่อรับสาร Adenosine เพิ่มขึ้น จนเป็นเหตุให้การดื่มกาแฟปริมาณเท่าเดิมไม่อาจทำให้เราตื่นตัวได้เหมือนเคย ซึ่งวิธีแก้ก็คือ การเปลี่ยนมาดื่มกาแฟแบบวันเว้นวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายเคยชินกับปริมาณคาเฟอีน และปรับตัวลดการผลิตสาร Adenosine ให้ลดลง หากการดื่มแบบวันเว้นวันยังไม่ได้ผล ให้ลองงดดื่มเป็นเวลา เดือน
นอกจากนี้ คาเฟอีนในกาแฟยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ หากบริโภคเกิน 4 แก้วต่อวัน* จะทำให้เราปัสสาวะบ่อยขึ้น เมื่อปัสสาวะบ่อยทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ (Dehydrated) เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ ก็จะน้ำในเกิดภาวะเลือดข้นไหลเวียนช้า นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ช้าลง ออกซิเจนน้อยลง เราจึงรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
แต่ดื่มกาแฟแล้วไปงีบ 15 นาที ทำให้ร่างกายสดชื่นกว่าดื่มกาแฟอย่างเดียว
การทำแบบนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ Coffee Nap โดยการดื่มกาแฟที่ดูดซึมเร็ว (เช่น Espresso) แล้วไปนอนงีบไม่เกิน 15-20 นาที (ถ้านานกว่านี้ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะหลับอีกระดับ ที่ตื่นมาแล้วจะงัวเงีย) และยังพอดีกับเวลาที่ร่างกายใช้ดูดซึมคาเฟอีนด้วย โดยคาเฟอีนจะเข้าไปปิดกั้นการทำงานของสาร Adenosine ตัวการที่ทำให้เรารู้สึกเพลีย ง่วงนอน ทำให้เมื่อตื่นมาเราจึงรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ายิ่งกว่าการดื่มกาแฟหรืองีบพักอย่างใดอย่างหนึ่ง
ร่างกายของผู้หญิงเผาผลาญคาเฟอีนได้เร็วกว่าผู้ชายถึง 25%
การขับคาเฟอีนออกจากร่างกายจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุและสภาพร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใหญ่จะใช้เวลา 5-6 ชั่วโมงในการขับคาเฟอีนปริมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับ (half-life) ออกจากร่างกาย
คาเฟอีน บริโภคมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย
เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายและทำให้กรดในกระเพาะอาหารมีมากขึ้น หากบริโภคในปริมาณมากๆ จึงอาจทำให้เกิดการถ่ายเหลวหรือท้องเสียได้
ดื่มกาแฟช่วยลดโอกาสเป็นเบาหวาน* อัลไซเมอร์ โรคตับ มะเร็งบางชนิด หรือแม้แต่โรคหัวใจ
คาเฟอีนมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย จากการเพิ่มระดับของอะดีนาลีน ช่วยสลายไขมันไปเป็นพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้พลังงานมาก และยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลายชนิด ทั้งเบาหวานประเภทที่ 2 (บริโภคกาแฟแบบไม่เติมน้ำตาล) ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง